ลีนุกซ์ (Linux) เป็นระบบปฏิบัติการที่พัฒนาต้นฉบับครั้งแรกโดยลินุส โตร์วัลดส์ (Linus Torvalds) ช่วงที่เป็นนักศึกษาภาควิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์มหาวิทยาลัยเฮลซิงกิ ประเทศฟินแลนด์ โดยการศึกษาต้นแบบจากระบบปฏิบัติการ MINIX ซึ่งเป็นระบบปฏิบัติการยูนิกซ์ที่รันบนเครื่องพีซีที่พัฒนาโดยศาสตราจารย์แอนดรูว์ ทาเนนบาวม์ (Adrew S. Tenebaum) มีจุดประสงค์หลักคือต้องการให้ระบบ UNIX มาใช้งานบนเครื่องพีซีหรือโน๊ตบุ๊กได้ โดยที่ระบบลีนุกซ์ระยะแรกถูกสร้างขึ้นเพื่อทำงานเป็นเครื่องเซิร์ฟเวอร์บริการ แต่ระยะหลังๆ ถูกพัฒนาให้สามารถใช้งานเป็นเดสก์ทอปเพื่อใช้งานบนระบบ Windows
ระบบ Linux ทำงานอยู่ภายใต้ลิขสิทธิ์แบบ GPL (General Public License) เป็นลิขสิทธิ์แบบสาธารณะมีการเปิดเผยซอร์สโค้ด (Open Source) ที่ร่างขึ้นโดย Richard Stallman ทำให้ปัจจุบันมีผู้พัฒนาลีนุกซ์ในรูปแบบของตนเองขึ้นมาจำนวนมาก โดยส่วนใหญ่แล้วจะพัฒนามาจากลีนุกซ์ต้นแบบ 3 สายพันธ์ คือ RedHat, Slackware และ Debian ปัจจุบันระบบลีนุกซ์มีให้เลือกใช้งานหลายสายพันธ์ (Distribution) มีให้เลือกใช้งานทั้งสายพันธ์ไทยและสายพันธ์ต่างชาติ การที่จะเลือกใช้สายพันธ์ใดนั้นผู้ดูแลระบบต้องพิจารณาให้ดี สำหรับระบบลีนุกซ์ที่เป็นที่นิยมในเมืองไทยในปัจจุบัน

อาทิ เช่น RHEL, Rocky Linux, AlmalLinux, Oracle Linux, Fedora, Arch Linux, Debian, Ubuntu, Linux Mint, SUSE Linux, openSUSE, Manjaro, Zorin OS, Pop!_OS, Kali Linux เป็นต้น

Explore More

การปรับค่าทางเครือข่าย (Network Setting)

การปรับค่าทางเครือข่าย (Network Setting) การตั้งชื่อ Host name [root@localhost ~]# hostnamectl set-hostname agriserv.sysadmin.local การตรวจสอบชื่อการ์ดเครือข่าย [root@localhost ~]# nmcli device DEVICE TYPE STATE CONNECTION ens33 ethernet connected ens33 lo loopback unmanaged — การกำหนดหมายเลข IP […]

Veyon Master ทูลสำหรับควบคุมห้องแล็ปคอมพิวเตอร์

สำหรับผู้ดูแลระบบที่ต้องการควบคุมห้องแล็ปคอมพิวเตอร์ สามารถใช้งานซอฟต์แวร์ได้หลายตัวด้วยกันในที่นี้ขอแนะนำซฮฟต์แวร์ชื่อว่า Veyon Veyon (Virtual Eye On Networks) เป็นซอฟต์แวร์โอเพ่นซอร์สที่ช่วยในการเฝ้าติดตาม และควบคุมคอมพิวเตอร์ในห้องเรียนหรือห้องปฏิบัติการ ซึ่งเหมาะสำหรับการสอนในสภาพแวดล้อมดิจิทัล การฝึกอบรมออนไลน์ หรือการให้การสนับสนุนระยะไกล สามารถติดตั้งใช้งานได้ทั้งระบบปฏิบัติการ Windows และ Linux

ห้องเก็บข้อมูลต่างๆ ของระบบ Linux

โครงสร้างไดเร็กทอรีในระบบปฏิบัติการ Linux โดยมีไดเร็กทอรีหลักที่ใช้เก็บไฟล์ระบบและไฟล์ที่เกี่ยวข้องกับผู้ใช้ ดังนี้ / (Root directory): ไดเร็กทอรีหลักที่อยู่ในระดับบนสุดของโครงสร้างไดเร็กทอรี /bin: เก็บไฟล์ไบนารีของคำสั่งพื้นฐานที่สามารถใช้ได้โดยผู้ใช้ทุกคน เช่น ls, cp, mv /boot: เก็บไฟล์ที่เกี่ยวข้องกับการบู๊ตระบบ เช่น เคอร์เนลและไฟล์ boot loader /dev: เก็บไฟล์ device ที่เป็นตัวแทนของอุปกรณ์ต่าง ๆ ในระบบ เช่น /dev/sda /etc: เก็บไฟล์การตั้งค่าระบบและสคริปต์การเริ่มต้นใช้งาน […]