
>> การติดตั้ง CentOS Linux 6.3 (64bits) ต่อจากบทความ การติดตั้ง Oracle VirtualBox (ตอนที่ 3)
หลังจากทราบวิธีการสร้างและปรับแต่ง Guest OS กันไปแล้วบทความนี้จะนำเสนอการติดตั้ง Guest OS ในที่นี้ทดสอบติดตั้งเป็นระบบ CentOS Linux เวอร์ชั่น 6.3 แบบ Minimal เป็นตัวติดตั้งที่เล็กและมีความปลอดภัยที่สุดหลังการติดตั้งผู้ดูแลระบบ (System Admin) ต้องทำการปรับแต่งข้อมูลด้วยตนเอง ข้อมูลที่ต้องเตรียมพร้อมก่อนการติดตั้ง
1. ชื่อเครื่องเซิร์ฟเวอร์ (Hostname) เช่น www, ns, proxy, database, host01, cmsfw, zeta,
2. รายละเอียดไอพีแอดเดรส ในที่นี้ทดสอบติดตั้งโดยใช้อินเตอร์เฟส 2 ใบ
WAN Interface - eth0/em0 ต่ออยู่กับ Router
IP Address: 192.168.1.2 < ไอพีวงเดียวกับเราท์เตอร์
Subnet Mask : 255.255.255.0 < ซับเน็ตมาสที่ใช้งาน
Gateway: 192.168.1.1 < ไอพีของเราท์เตอร์หรือขาอินเทอร์เน็ตที่ใช้งาน
DNS: 203.144.207.29, 203.144.207.49 < เบอร์ดีเอ็นเอสของศูนย์บริการที่ใช้งานอยู่
LAN Interface - eth1/em1 ต่ออยู่กับเครื่องคอมพิวเตอร์ลูกข่าย (Client)
IP Address: 192.168.2.1 < ไอพีวงเดียวกับเราท์เตอร์
Subnet Mask : 255.255.255.0 < ซับเน็ตมาสที่ใช้งาน
Gateway: - < ไอพีของเราท์เตอร์หรือขาอินเทอร์เน็ตที่ใช้งาน
ขั้นตอนการติดตั้ง CentOS Linux 6.3 แบบ Minimal
1. คลิกที่ Guest OS > Start
2. แสดงข้อความต้อนรับสู่การติดตั้ง CentOS ให้กดปุ่ม Enter
3. ระบบทำการตรวจสอบฮาร์ดแวร์
4. คลิกเลือก Skip
5. แสดงโลโก้ CentOS Linux ให้คลิกปุ่ม Next
6. คลิกเลือกภาษาเป็น English (English)
7. คลิเลือกชนิดแป้นพิมพ์เป็น U.S.English
8. คลิกเลือกชนิดดิสก์เป็น Basic Stroage Device
9. ทำการตั้งชื่อโฮสต์ที่ต้องการ
10. คลิกที่ Configure Network ด้านล่าง
11. คลิกที่อินเตอร์เฟส eth0 > Edit
12. คลิกที่ [/] Connect automatically เพื่อตั้งให้อินเตอร์เฟสทำงานตอนบู๊ตเครื่อง คลิกแท็บ IPv4 เพื่อกำหนดรายละเอียด IP Address ของ WAN Internet Method:
Manual Address: 192.168.1.20 < เบอร์ไอพีขา WAN ที่ต่อเน็ตอยู่
Netmask: 24 < ซับเน็ตมาสก์
Gateway: 192.168.1.1 < เบอร์ไอพีของ
Router DNS Server : 203.144.207.29, 203.144.207.49 < หมายเลข DNS ของศูนย์บริการที่เชื่อมต่ออยู่
Search domains: cmslearning.co.th < ชื่อโดเมนของหน่วยงาน กำหนดเสร็จแล้วคลิกปุ่ม Apply
13. เลือกเว็ลท้องถิ่นเป็น Asia/Bangkok เสร็จแล้วคลิกปุ่ม Next
14. กำหนดรหัสผ่าน root (ผู้ดูแลระบบ) เสร็จแล้วคลิกปุ่ม Next
15. คลิกเลือกวิธีการแบ่งพาร์ติชั่นที่ต้องการในที่นี้คลิกเลือกให้ระบบแบ่งให้อัตโนมัติ (Use All Space)
16. คลิกเลือกวิธีติดตั้งเป็นแบบ Minimal เสร็จแล้วคลิกปุ่ม Next
17. ทำการติดตั้งแพ็กเกจต่างๆ อัตโนมัติ 18. คลิกปุ่ม Reboot เพื่อรีสต๊าทเครื่อง
19. ทำการล็อกอินเข้าระบบ
Linux Username: root
Password: *****
20. ทดสอบใช้คำสั่ง ping ไปยัง router, dns และ internet
ping 192.168.1.1 [enter]
ping 203.144.207.29 [enter]
ping www.google.com [enter]
Note. หากไม่สามารถใช้คำสั่ง ping ไปยังเป้าหมายได้ให้ทำการตรวจสอบว่า ip วงนอก eth0 มีการ fix ip ถูกต้องหรือไม่ ifconfig eth0 ทำการ fix IP และทางออก gateway โดยตรงดังนี้
ifconfig eth0 192.168.1.2 netmask 255.255.255.0 up
route add default gw 192.168.1.1 eth0
ทดสอบ ping ใหม่อีกครั้ง หาก ping ไปยัง router ได้แล้วแต่ยังออกเน็ตไม่ได้ให้ทำการแก้ไขไฟล์ควบคุม dns โดยระบุไอพี dns ของศูนย์บริการที่ใช้งานอยู่
vi /etc/resolv.conf
search cmslearning.co.th
nameserver 203.144.207.29
nameserver 203.144.207.49
---
Write by A.Arnut Ruttanatirakul
(c) by SysAdmin Technology http://www.sysadmin.in.th
January 13, 2013
Tags
- Printer-friendly version
- Log in to post comments
- 110 views