Skip to main content
การทำ DNS ใช้งานเองในองค์กร (ตอนที่ 1)

DNS ย่อมาจาก Domain Name System เป็นระบบที่ใช้ในการแปลงชื่อ IP Address เป็นชื่อโฮสต์ และแปลงจากชื่อโฮสต์กลับมาเป็น IP Address เช่น แปลงจาก www.cmsthailand.com ให้เป็น 203.150.225.157 ปกติเราจะใช้บริการ DNS ผ่านทางศูนย์บริการอินเทอร์เน็ต แต่สำหรับองค์กรที่มีไอพีจริงใช้งานก็สามารถตั้งตัวบริการดีเอ็นเอส ที่เรียกว่า DNS Server ได้เช่นเดียวกัน ในอดีตองค์กรที่ดูแล และบริหารเกี่ยวกับข้อมูลกลางชื่อโดเมนบนอินเทอร์เน็ตทั้งหมด คือ InterNIC (Internet Network Information Center) ในเวลาต่อมา InterNIC ได้ให้อำนาจแก่บริษัท Network Solution Inc. (NSI) เป็นผู้ดำเนินการในการรับจดชื่อโดเมน .com, .net และ .org โดยที่ NSI จะพิจารณาอนุมัติชื่อโดเมนตามหลักเกณฑ์ลำดับก่อนหลัง (a first-come, first-served basics) โดยที่ NSI มิได้พิจารณาจดทะเบียนชื่อโดเมนที่ซ้ำกับชื่อองค์กรหรือบริษัทห้างร้าน รวมทั้งไม่ได้จำกัดจำนวนโดเมนที่จดทะเบียน ทำให้เกิดปัญหาขึ้นในภายหลังมากมาย ในปี 2541 กระทรวงพาณิชย์ของสหรัฐอเมริกาได้ประกาศรับรองหน่วยงาน ICANN (Internet Corporation for Assigned Names and Numbers) ในการทำหน้าที่จัดสรรและดูแลในส่วนของ Domain Name และ IP Address รวมทั้งวางกฎระเบียบ นโยบาย ต่างๆ โดยที่ ICANN เป็นหน่วยงานระดับสากลที่ไม่แสวงหาผลกำไร ทำหน้าที่หลักๆ อยู่ 4 ด้านคือ
1. บริหารระบบชื่อโดเมนเนม (Management of Domain Name System)
2. การบริหารระบบเครื่องแม่ข่ายหลักเพื่อสืบค้นโดเมน (Management of the Root Server System)
3. การจัดสรรหมายเลขไอพี (Allocation of IP Address Space)
4.กำหนดมาตรฐานทางเทคนิค (Assignment of Protocol Parameter)

สามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ http://www.icann.org

การแปลงจากชื่อโฮสต์เป็นหมายเลข IP Address เรียกว่า Forward mapping เช่น การแปลงจากชื่อ www.cmslearning.co.th ให้เป็น 61.19.246.32 และการแปลงจากหมายเลข IP Address ให้เป็นชื่อโฮสต์เรียกว่า Reverse mapping เช่น แปลงจาก IP Address 61.19.246.32 ให้เป็นชื่อโฮสต์ คือ www.cmslearning.co.th โดยที่ Name Server สามารถแบ่งได้ 3 ชนิด คือ
1. Primary name server เป็นเซิร์ฟเวอร์ที่เก็บฐานข้อมูลรายชื่อเครื่องในแต่ละโซน (zone) โดยตรง
2. Secondary name server เป็นเซิร์ฟเวอร์ที่นำฐานข้อมูลของโซน (zone) มาจาก Primary name server เพื่อสำรองข้อมูลกรณีเนมเซิร์ฟเวอร์หลักมีปัญหา
3. Cache name server เป็นเนมเซิร์ฟเวอร์ที่เก็บข้อมูลจากการสอบถามของไคลเอนท์บนระบบอินเตอร์เน็ต หรือนอกโดเมนของตนเอง โดยที่โซนใด ๆ Cache Name Server จะมีหรือไม่มีก็ได้

หน่วยงานที่ดูแลจัดการโดเมนโดยตรง
1. ARPA TLD เป็นดีเอ็นเอสยุคแรกๆ เช่น .arpa ในปัจจุบันถูกนำมาใช้สำหรับทำ Reverse DNS Lookup ที่ in-addr.arpa
2. Second Level Domain เป็นโดเมนที่แจกให้ให้กับองค์กรหรือบุคคลที่ต้องการมีชื่อโดเมน เช่น cmsthailand, se-ed, microsoft, ibm, oracle

Note.
สามารถดูรายละเอียด Root Zone Database เพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์
http://www.iana.org/domains/root/db/

--
Write by A.Arnut Ruttanatirakul
(c)2013 by SysAdmin.in.th
November 8, 2013

Tags